ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board)

แชร์ให้เพื่อน :

จำหน่ายไม้อัดปาติเกิล (Particle Board) ราคาโรงงาน ขนส่งถึงหน้างาน เหมาะสำหรับใช้ทำเฟอร์นิเจอร์

จำหน่ายไม้อัด

ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board)

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ ไม้อัดอีกประเภทหนึ่งคือ ไม้อัดปาติเกิล ซึ่งเป็นไม้อัดที่คนนิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะมีราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ง่าย ตามร้านไม้ทั่วๆไปได้ด้วย

ปาร์ติเกิลบอร์ด (particleboard) หรือบางประเทศมีการเรียกว่า ชิปบอร์ด (chipboard) เป็นไม้วิศวกรรมประเภทหนึ่ง สร้างมาจากเศษชิ้นไม้ เช่นชิปไม้ หรือแม้แต่ขี้เลื่อย มาประสานกันโดยสารเคมีและนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูง ปาร์ติเกิลบอร์ดจัดเป็นไฟเบอร์บอร์ดชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดบอร์ด แต่ปาร์ติเกิลบอร์ดมีส่วนประกอบจากชิ้นไม้ที่ใหญ่กว่า

ปาร์ติเกิลบอร์ดเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริงและไม้อัด จะมีราคาที่ถูกกว่า ความหนาแน่นมากกว่า และมีเนื้อไม้ที่มีลักษณะเดียวกันทั้งชิ้น ขณะที่ความแข็งแรงของปาร์ติเกิลบอร์ดจะน้อยกว่า โดยเมื่อนำมาใช้งานนิยมนำวีเนียร์มาติดเป็นผิวหน้าเพื่อแสดงลายไม้ หรือบางครั้งนิยมนำมาทาสีตกแต่ง

ปาร์ติเกิลบอร์ดนั้นเป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาสุดในบรรดาไฟเบอร์บอร์ด ซึ่งความแข็งแรงก็น้อยกว่าเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดวูด ข้อด้อยอีกอย่างของปาร์ติเกิลบอร์ดคือ ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่ายเนื่องจากความชื้นโดยเฉพาะไม้ที่ไม่ได้มีการทาสี หรือว่าเคลือบซีลเลอร์ อย่างไรก็ตามปาร์ติเกิลบอร์ดนิยมนำมาใช้ในงานไม้ที่ใช้ในตัวอาคาร แทนที่งานภายนอกอาคารที่มีความชื้นสูง ปาร์ติเกิลบอร์ดนำมาใช้ตามเคาน์เตอร์ นำมาใช้เป็นฉนวน

ประวัติของปาร์ติเกิลบอร์ดนั้น ถูกคิดขึ้นมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงที่ขาดแคลนไม้ โดยมีการใช้ครั้งแรกในโรงงานที่เมืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี โดยได้นำเศษไม้ ขี้เลื่อย หรือชิปไม้ จากโรงงานมาทุบรวมกันให้มีขนาดเล็ก และนำมาอัดใส่สารเคมีให้เป็นเนื้อเดียวกัน

ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริงและไม้อัด จะมีราคาที่ถูกกว่า ความหนาแน่นมากกว่า และมีเนื้อไม้ที่มีลักษณะเดียวกันทั้งชิ้น ขณะที่ความแข็งแรงของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดจะน้อยกว่า โดยเมื่อนำมาใช้งานนิยมนำวีเนียร์มาติดเป็นผิวหน้าเพื่อแสดงลายไม้ หรือบางครั้งนิยมนำมาทาสีตกแต่ง

ขนาดของไม้อัดปาติเกิล

ความหนา (มิลลิเมตร) กว้าง*ยาว (เมตร) น้ำหนัก (กิโลกรัม)
9 1.2*2.4 19
12 1.2*2.4 25
16 1.2*2.4 31
19 1.2*2.4 37
25 1.2*2.4 48
28 1.2*2.4 53

กรรมวิธีการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด ( Particle board )

กรรมวิธีการผลิต เริ่มจากขั้นตอนการเตรียมชิ้นไม้ เมื่อได้ไม้ท่อนมาจะถูกส่งเข้าเครื่องตัดเป็นชิ้นแต่ถ้าเป็นเศษไม้จะส่งเข้าเครื่องตัดชิ้นไม้อีกแบบหนึ่ง หลังจากนั้นจะถูกส่งเข้าไปเก็บในยุ้งเก็บชิ้นไม้ชื้นและส่งไปอบด้วยเครื่องอบชิ้นไม้จนเหลือความชื้นประมาณ 2-3% จึงถูกส่งไปเก็บในยุ้งชิ้นไม้แห้งและส่งต่อไปเข้าเครื่องคัดขนาด (AIRSEPARATOR) ชิ้นไม้ที่ใหญ่เกินขนาดจะถูกส่งเข้าเครื่องย่อยชิ้นไม้ (KNIFFLINK FLAKER)ให้ได้ขนาดที่ต้องการก่อนถูกส่งผ่านไปยุ้งพักและเครื่องชั่งควบคุมน้ำหนัก ส่วนชิ้นไม้ที่ได้ขนาดพอดีก็ถูกส่งผ่านไปยังเครื่องชั่งควบคุมน้ำหนักจากนั้นถึงขั้นตอนการผสมกาวเข้ากับชิ้นไม้แล้วผ่านเข้าเครื่องทำแผ่นชนิดพิเศษ MATHFORMING MACHINE เมื่อได้แผ่นชิ้นไม้ที่ทำเรียบร้อยแล้วจะเคลื่อนตัวบนสายพานเหล็กใต้เครื่องทำแผ่นไปเข้า MENDE PRESS ซึ่งจะถูกอักระหว่างลูกกลิ้งร้อนตัวใหญ่ (HEATED PRESS DRUM)กับตับลูกกลิ้งอัดเล็ก (PRESSURE ROLLS) ต่อเนื่องกันไปที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียสซึ่งจะได้ PARTICALEBOARD ที่มีความยาวต่อเนื่องกันไปการผลิต PARTICLE BOARDจะเกิดฝุ่นอันเนื่องจากการขัดแผ่นPARTICLE BOARD โรงงานเหล่านี้ มีการติดตั้งเครื่องดูดฝุ่น เพื่อกำจัดมลภาวะทางอากาศอันอาจจะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจและฝุ่น ฝุ่นเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยส่วนหนึ่งจะทำเป็นเชื้อเพลิงในขบวนการผลิต อีกส่วนหนึ่งจะนำกลับมาใช้ผลิตแผ่น PARTICLE BOARDใหม่และฝุ่นที่ละเอียดสามารถจำหน่ายให้กับผู้ผลิตธูปได้อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและภาวะสิ้งแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

 

วัตถุดิบการผลิต

วัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต PARTICLE BOARDได้แก่

-ไม้หรือวัสดุที่มีลิกนินหรือ เซลลูโลส(เช่นชานอ้อย)ซึ่งแหล่งวัตถุดิบเหล่านี้หาได้ภายในประเทศ

-ไม้ยางพารา มีมากในแถบภาคใต้และภาคตะวันออก

-ไม้ยูคาลิปตัสพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

-เศษไม้ มีอยู่ทั่วไปจากโรงเลื่อยและโรงงานไม้แปรรูปที่มีอยู่ทั่วประเทศ

-กาว ใช้เป็นตัวประสานให้ชิ้นไม้ประสานกัน โดยใช้กาวชนิดยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ หรือกาวสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถซื้อได้จากประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย-WAX และสารเคมีอื่น ๆสามารถจัดซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ

คุณสมบัติของแผ่นไม้ ( Particle board )

ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนั้น เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาสุดในบรรดาไฟเบอร์บอร์ด ซึ่งความแข็งแรงก็น้อยกว่าเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดวูด ข้อด้อยอีกอย่างของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดคือ ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่าย เนื่องจากความชื้นโดยเฉพาะไม้ที่ไม่ได้มีการ ทาสี หรือว่าเคลือบซีลเลอร์ อย่างไรก็ตามปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนิยมนำมาใช้ในงานไม้ที่ใช้ในตัวอาคาร แทนที่งานภายนอกอาคารที่มีความชื้นสูง ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนำมาใช้ตามเคาน์เตอร์ นำมาใช้เป็นฉนวนมีขนาดตั้งแต่

ข้อดีปาร์ติเกิลบอร์ด

  • ราคาถูกมาก
  • มีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก
  • เป็นที่นิยมใช้กันในวงกว้าง หาซื้อได้ง่าย

 

ข้อเสียปาร์ติเกิลบอร์ด

  • วัตถุดิบโดยรวม ไม่แข็งแรง
  • ไม่สามารถโดนน้ำได้ เพราะอาจจะยุ่ย เปื่อยได้ ที่โดนน้ำได้เป็นเพราะพื้นผิวด้านนอก ที่ปิดทับช่วยเอาไว้
  • ไม่สามารถพ่นสีบนตัวงานได้
  • ปิดผิว PVC ได้แบบไม่เรียบ เนื่องจากขี้เลื่อยที่นำมาบดอัดมีขนาดไม่เท่ากัน
    อาจมีเชื้อราขึ้นได้ ต้องหมั่นคอยดูแล อย่าให้ห้องมีความชื้น

ขนาดมาตรฐานของ ไม้ ( Particle board )

Particle Board คือแผ่นไม้ที่ผลิต จาก การนำไม้ตามธรรมชาติมาบดย่อย เป็นชิ้นขนาดเล็กๆและนำมาอัดเข้ารูปเป็นแผ่นด้วยความร้อน กาวพิเศษ และแรงอัด พร้อมการผ่านกระบวนการทางเคมี เพื่อให้สามารถป้องกันความชื้นและปลวก โดยจะผลิตเป็นแผ่นสำเร็จรูปขนาด 1200 x 2400 มม. และ ขนาด 1800 x 2400 มม. และมีขนาดความหนาต่างๆกัน เช่น ขนาดหนา 3 มม. , 9 มม.,16 มม., 19 มม., เป็นต้น

โดยแผ่นที่ผลิตได้ยังเป็นแผ่นเปลือย ที่จะต้องนำไปปิดผิว ภายนอกก่อนนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์

ความหนามาตรฐาน : 9, 12, 15, 16, 18, 19 และ 25 มม.

ขนาดมตารฐาน : 1220 x 2440 มม.

ความหนาแน่น : 160-450 กก./ม³

ประเภทของ ไม้ ( Particle board )

ไม้ปาร์ติเกิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชิ้นไม้ยางพาราที่ไม่สามารถให้น้ำยางพาราได้แล้ว โดยนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นภายใต้แรงดันและใช้กาวเป็นตัวประสาน แผ่นไม้ปาร์ติเกิลจะมี 3 ชั้น คือ ชั้นผิวบน ชั้นผิวล่าง มีความละเอียด และชั้นไส้ตรงกลาง มีความหยาบกว่า วัตถุดิบที่นำมาผลิตไม้ปาร์ติเกิล ได้แก่ ไม้ยางพาราที่หมดอายุการใช้งานแล้ว

 

ไม้ปาร์ติเคิลจะเคลือบผิว 4 ประเภท ดังนี้

1. ฟรอยด์ = กระดาษเคลือบด้วยเรซิน (ตามร้านเฟอร์ที่ขายถูก ๆ ทั่ว ๆ ไป) ใช้เล็บกรีดเป็นรอยไม่กันน้ำ

2. ปิดด้วย pvc ถ้าลองแงะดูจะเป็นแผ่นยางแข็ง ๆ กันน้ำได้กรณีเอาแก้วน้ำวางไว้ น้ำหก แต่ไม่กันร้อน

3. เมลามีน ใช้กันทั้วไปราคาสมเหตุสมผล กันน้ำได้ ทั้งร้อน / เย็น

4. ลามิเนต ทนร่อน / เย็น คราบ ทำความสะอาดง่าย

วิธีการดูแลรักษาไม้ Particle board

เฟอร์นิเจอร์ไม้นั้นเป็นวัสดุที่มีราคาแพงเพราะวัตถุดิบคือไม้ซึ่งมีราคาแพงและยังหายากในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงชื่นชอบวัสดุตกแต่งบ้านที่ทำมาจากไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้และเครื่องเรือนต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม้เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติมากกว่าวัสดุทดแทนประเภทอื่นๆ นอกจากนั้นไม้ยังมีลายที่สวยงามหลากหลาย เพียงแต่ใช้วัสดุเคลือบเงา ไม่จำเป็นต้องทาสีก็ดูสวยงาม

 

ไม้ยังมีความแข็งแรงคงทนและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานแต่การที่จะให้ไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้นั้นจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาที่ดีและถูกวิธี

1. เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้ต้องไม่วางใกล้แหล่งความร้อนหรือในที่ที่มี อุณหภูมิสูง

2. ไม่วางบนพื้นที่เปียกชื้น และไม่ควรให้ถูกแสงแดด แสงจากดวงโคมหรือแสงสปอตไลท์โดยตรง

3. ควรระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนเนื้อไม้ และระวังไม่ให้มีน้ำหยดลงบนเนื้อไม้เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำลายความสวยงามของเนื้อไม้และลายไม้ ทำให้ผิวของไม้ซีดจางลง

4. ศัตรูที่สำคัญของไม้ คือ ปลวกและแมลงต่างๆที่กัดกินเนื้อไม้จึงต้องหมั่นตรวจตราดูแลเสมอเพื่อที่จะช่วยให้สามารถรักษา ความสวยงามตามธรรมชาติและให้ไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

 

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดมีกี่แบบ(แบ่งตามชนิดเนื้อไม้)

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดมีกี่แบบ (แบ่งตามชนิดเนื้อไม้)

สวัสดีครับ หลายๆคนที่เคยใช้ไม้อัดสำหรับทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ ,งานโครงสร้าง ,งานบิวด์อิน หรืองานต่างๆ ที่ต้องใช้ไม้อัด คงมีความสงสัยกันว่า ไม้อัดนั้นมีกี่แบบ วันนี้เราจะมาดูกันว่าไม้อัดนั้นมีกี่แบบกันบ้าง โดยดูตามลักษณะของเนื้อไม้

ปัจจุบันการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เปลี่ยนไปอย่างมาก ในสมัยก่อนที่ป่าไม้ใความอุดมสมบูรณ์การใช้ไม้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ยังทำได้ แต่ในปัจจุบันไม้จริง ลดลงไปมาก จึงมาการผลิตไม้สังเคราห์เพื่อมาทดแทนไม้จริง ซึ่งผลิตจากเศษไม้ หรือขี้เลื่อยไม้จริงผสมกับวัสดุอื่นและกาวเพื่อให้ไม้ยึดเกาะกัน ไม้สังเคราะห์แบบใหม่ เรียกว่า ไม้อัด

ไม้อัดสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท จะเรียงลำดับไม้ที่มีคุณภาพต่ำไปยังคุณภาพสูง ดังนี้คือ

1. ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board)
ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board) เป็นไม้อัดชนิดหนึ่งที่นิยม นำมาทำเฟอร์นิเจอร์​เพราะ มีราคาถูก ประกอบและติดตั้งง่าย ซึ่งพบเห็นได้มากในปัจจุบัน

กรรมวิธีการผลิต
ไม้ปาติเกิล ผลิตโดยการนำเศษไม้ยางพารา ที่มีขนาดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือ “ขี้เลื่อย” ซึ่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน นำมาผ่านกรรมวิธีอัดบดเป็นแผ่น ผสมกาว เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ และผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ขนาดต่าง ๆ โดยความหนาที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์จะอยู่ที่ 9 – 25 มิลลิเมตรเท่านั้น โดยพื้นผิวภายนอกของไม้อัดปาติเดิล นั้นผู้ผลิตส่วนมากจะปิดทับด้วยกระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือแผ่นเมลามีน ก่อนนำไปใช้งาน ไม้ชนิดนี้เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ในอุตสาหกรรมในอันดับต้น ๆ เนื่องจากมีราคาต้นทุนที่ต่ำมาก

ไม้ปาติเกิลจะมีทั้งแบบธรรมดาและแบบกันชื้น ซึ่งจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ
ถ้าแบบธรรมดาไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด แต่ถ้าเป็นแบบกันชื้น ไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเขียว

ไม้ปาติเกิลแบบธรรมดาจะไม่ทนความชื้น หากโดนความชื้นมากๆหรือแช่น้ำ ไม้จะบวมพอง เหมาะสำหรับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านทั่วๆไป ที่ไม่มีความชื้น แต่ไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น จะมีความทนทานต่อความชื้นแต่ไม่ทนต่อการแช่ในน้ำ เหมาะสำหรับห้องครัวและห้องน้ำโซนแห้ง

ไม้อัดปาติเกิลนิยมนำไปทำ ตู้ ลิ้นชัก เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เพราะไม่ทนต่อความชื้น

ลักษณะเนื้อไม้อัดปาติเกิล

ลักษณะของเนื้อไม้อัดปาติเกิล 
* มีความเป็นโพรง เนื้อไม้ไม่แน่นมาก เพราะเป็นการนำเศษไม้ ขี้เลื่อย มาอัด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโพรงได้
* น้ำหนักเบา เพราะเนื้อไม้ไม่แน่น

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบธรรมดา
ข้อดี
– ราคาถูก เพราะเป็นไม้อัดคุณภาพกลางๆ นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้ 
– น้ำหนักเบา เพราะเนื้อไม้มีมีร่อง 
– หาซื้อง่าย มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านวัสดุก่อสร้างและร้านไม้ 

– เป็นที่นิยม เพราะราคาถูก
– ขนย้ายสะดวก มีขนาดที่เท่ากันทุกแผ่น ทำให้ขนย้ายง่าย

ข้อเสีย
– ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้
– ไม่สามารถพ่นสีทับได้
– เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น
– มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น
ข้อดี
– ราคาถูก
– น้ำหนักเบา
– หาซื้อง่าย
– เป็นที่นิยม
– ขนย้ายสะดวก
– ป้องกันเชื้อรา สามารถป้องกันเชื้อราได้ แต่ในที่สุดก็อาจจะมีราขึ้นได้

ข้อเสีย
– ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้
– ไม่สามารถพ่นสีทับได้
– มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

 


2. ไม้อัดเอ็มดีเอฟ (MDF: Medium-Density Fiber board)
ไม้ MDF ย่อมาจากคำว่า Medium-Density Fiberboard สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “แผ่นใยไม้อัด ความหนาแน่นปานกลาง” เป็นไม้อัดที่พบเห็นได้กับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

การผลิตไม้อัด MDF
ไม้อัด MDF ผลิตโดยไม้ชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับไม้ปาติเกิล คือเอาเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามาบดอัด หรือเศษฝุ่นไม้ มาผสมกาว แต่จะใช้เครื่องที่มีแรงอัดสูงมากพร้อมกับความร้อน ด้วยเครื่องจักรเฉพาะทางจึงทำให้เนื้อไม้มีความหนาแน่น ละเอียด และมีพื้นผิวด้านนอกที่เนียนมากกว่าไม้อัดปาติเกิลโดยความหนาที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ จะอยู่ที่ 3 – 25 มิลลิเมตร โดยพื้นผิวภายนอกนั้น สามารถปิดผิวได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปิดผิวด้วยกระดาษเมลามีน ลามิเนต รวมไปถึงการพ่นสีทับบนผิวด้านนอกได้อีกด้วย

ลักษณะเนื้อไม้อัด MDF

ลักษณะของเนื้อไม้
– มีความแน่น เป็นฝุ่นไม้
– เวลาตัดแผ่นไม้ จะมีฝุ่นเยอะ เพราะเป็นการอัดกาวกับฝุ่นไม้

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้อัด MDF
ข้อดี
– เนื้อหนาแน่น ผิวเรียบเนียนตลอดทั้งแผ่น สวยงาม
– หาซื้อได้ง่ายและเป็นที่นิยมในการทำเฟอร์นิเจอร์ มีขายตามร้านไม้ทั่วไป
– ขนย้ายสะดวก เพราะมีขนาดเท่าๆกัน
– มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก มีความแน่นของเนื้อไม้
– พ่นสีหรือทาสีบนเนื้อไม้ได้
– ทนน้ำได้ดีกว่าไม้อัดปาติเกิล
– ปิดผิวได้หลากหลายแบบ เช่น กระดาษเมลามีน การพ่นสีทับ

ข้อเสีย
– ราคาสูงกว่าไม้ปาติเกิล
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้ เพราะจะบวมน้ำ และอาจจะเกิดเห็ด รา ได้
– ฝุ่นเยอะขณะตัดไม้ เพราะลักษณะเนื้อไม้คือการนำฝุ่นไม้มาผสมกาว และอัดเป็นแผ่นไม้
– เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น ซึ่งหากน้ำซึมเข้าไปในเนื้อไม้ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นได้
– มีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาติเกิล เพราะความแน่นของเนื้อไม้มากกว่า

 


3. ไม้อัด (Plywood)
ไม้อัด ถือเป็นไม้ที่มีคุณภาพขึ้นมาอีกระดับในเรื่องของความทนทาน แข็งแรง และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่นกันน้ำ กันปลวก เป็นต้น มีความคล้ายไม้แผ่นมากที่สุด

กระบวนการผลิตไม้อัด
คือการนำไม้มาปอกเปลือกชั้นนอกที่ผิวไม่เรียบออกไป ต่อไปทำให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วอัดเป็นชั้นๆ ด้วยกาวพิเศษ จนแน่นจากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ในโรงงานผลิต และปิดผิวด้วยเยื่อบุไม้ ซึ่งไม้อัดทำมาจากไม้ชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น

– ไม้อัดยาง หรือไม้ยางพาราประสาน
– ไม้อัดสัก, ไม้อัดสักอิตาลี
– ไม้อัดแฟนซีหรือไม้อัดลวดลาย
– ไม้อัดแอชจีน, ไม้อัดแอชอเมริกา
– ไม้อัดบีช
ไม้อัดฟิล์มดำ

ทางผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายบางแห่ง จะเอาคุณสมบัติพิเศษมาให้เลือกใช้กัน อย่างความสามารถของการกันน้ำ กันปลวก หรือแมลงจำพวกกินเนื้อไม้ได้ ซึ่งทางผู้ผลิตจะใช้กาวชนิดพิเศษในการยึดเนื้อ มาผสมกับน้ำยากันปลวกเข้าไปในแต่ละชั้นของไม้ ส่วนด้านนอกอาจจะมีการทาน้ำยาเคลือบไว้ เพื่อป้องกันปลวก

นอกจากนี้ ไม้อัดยังสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood), ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood) และ ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood) เช่นไม้อัดฟิล์มดำ ส่วนขนาดความหนามาตรฐานของไม้อัด จะมีตั้งแต่ประมาณ 3 – 20 มิลลิเมตร

ลักษณะเนื้อไม้อัด

ลักษณะของเนื้อไม้อัด

-เนื้อไม้แน่น เป็นชั้นๆ สวยงาม 

-แข็งแรงทนทาน 

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้อัด
ข้อดี
– คล้ายไม้แผ่นมากที่สุด
– แข็งแรง ไม่บิดงอง่าย รับน้ำหนักได้ค่อนข้างมาก
– คงทน แข็งแรง
– โดนน้ำได้ แต่ไม่ควรแช่น้ำ
– กันปลวก เพราะมีการผสมสารเคมีกันปลวกในกาว

ข้อเสีย
– ราคาค่อนข้างสูง เพราะคล้ายเนื้อไม้ และให้สัมผัสใกล้เคียงกับไม้มากที่สุด
– มีน้ำหนักมาก เพราะเนื้อไม้มีความแน่น เวลาเลือกไม้อัดชนิดนี้ อาจจะต้องดูน้ำหนัก หากน้ำหนักมากมีแสดงว่าเนื้อไม้มีความแน่น

 

แชร์ให้เพื่อน :