ไม้อัด MDF 25 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 25 มม.

ความหนา : 25 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 52.5 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา


ไม้อัด mdf เหมาะสำหรับใช้งาน 

ไม้อัด mdf เหมาะสำหรับงานต่างๆ ดังนี้
เฟอร์นิเจอร์

  • ทอปโต๊ะ
  • ข้างตู้ หลังตู้ ประตูตู้
  • ลิ้นชัก ชั้นวางของ
  • ตู้เสื้อผ้า

งานตกแต่ง บิวด์อิน

  • ชั้นวางของ บิวด์อิน
  • ตู้เสื้อผ้า บิวด์อิน

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

แชร์ให้เพื่อน :

มารู้จักไม้อัด MDF

แชร์ให้เพื่อน :

จำหน่ายไม้อัด MDF สำหรับงานตกแต่ง บิวด์อิน , งานเฟอร์นิเจอร์, ทุกไซส์ ทุกขนาด ไม้มีมาตรฐาน, ราคาโรงงาน สอบถามรายละเอียดได้เลย 


สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับไม้อัดชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ นั่นก็คือ ไม้อัด MDF นั่นเอง หลายคนเรียกว่าไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF, ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD, ไม้เอ็มดีเอฟบอร์ด ซึ่งก็หมายถึงไม้อัด MDF เหมือนกัน

ไม้อัด mdf นั้นเหมาะกับการนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่เราใช้ในบ้าน หรือสถานที่ต่างๆนั้น ส่วนมากทำมาจากตัวไม้อัด mdf เป็นส่วนใหญ่ เช่น โต๊ะ, ตู้, เตียง, ประตู, ตู้เสื้อผ้า ซึ่งนิยมมาก และการประดับตกแต่งตามร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ที่มีชั้นวาง ก็มักจะทำมาจากไม้ mdf เช่นเดียวกัน

มาทำความรู้จักกับ ไม้อัด MDF แบบละเอียด

ไม้ MDF (Medium Density FiberBoard) ซึ่งคำว่า MDF ย่อมาจากคำว่า “Medium-Density Fiberboard หรือ เรียกว่าแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท Composite Panel ชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำเส้นใยของไม้หรือพืชที่มีเส้นใย หรือเส้นใยของวัสดุลิกโนเซลลูโลส (Lignocelluloses Material) วัตถุดิบที่นิยมใช้คือ ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา หรือไม้เบญจพรรณอื่นๆ นำมาผสมกับกาวสังเคราะห์ แล้วจึงอัดเป็นแผ่นโดยกรรมวิธีแบบแห้ง คืออัดด้วยความร้อน (Dry Process) เพื่อให้เกิดความยึดเหนี่ยวระหว่างเส้นใยจนเป็นเนื้อเดียวกันโดยมี และกาวเป็นตัวช่วยประสาน โดยจะทำให้ไม้มีความหนาแน่นสูง มีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความหนา ความแน่น และความเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียน งานที่ออกมาจึงดูเรียบร้อยไม่เป็นขุย สามารถนำมาพ่นสีในเนื้อไม้ได้สวยงาม สามารถปิดผิวด้วยกระดาษ,แผ่นเมลามีน ซึ่งทำให้ได้ไม้อัดที่มีความสวยงาม

ไม้อัด MDF มีความแข็งแรงและมีเนื้อไม้ละเอียดผิวเรียบเนียนกว่าพาร์ติเคิลบอร์ด (Particleboard) จึงเหมาะกับการทำ Built – In furniture สามารถปิดผิว ทำสี สลักลาย เซาะร่อง เหมาะกับมีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความหนา ความแน่นและความเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียบ งานที่ออกมาจึงดูเรียบร้อยไม่เป็นขุยสามารถนำมาพ่นสีในเนื้อไม้ได้สวยงาม โดยส่วนมากนิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ทั้งลอยตัวและบิวท์อิน ไม่ว่าจะเป็น ตู้ โต๊ะเตียง พื้นอาคาร,กรุผนัง, นำไปปิดผิว พ่นสี และใช้ในอุตสาหกรรมตกแต่งรวมทั้งงานแกะสลักได้เกือบทุกชนิดหรือแม้กระทั่งกรอบรูป


ส่วนผสมการผลิต ไม้ MDF (Medium Density FiberBoard)

 

  • เศษไม้ที่ละเอียดมาก ที่มีลักษณะเกือบจะเป็นฝุ่นไม้ ได้มาจากการบดอัด ต้นไม้ ประเภทไม้ยูคาลิปตัส, ไม้ยางพารา หรือไม้เบญจพรรณ ฯลฯ หรือเส้นใยของวัสดุ ลิกโนเซลลูโลส(Lignocellulose Material) เศษเยื่อไม้ที่เหลือจากการทำกระดาษ (ชนิดใดชนิดหนึ่งนำมาผลิต) และกากชานอ้อยที่ได้ จากโรงานทำน้ำตาลทรายแล้ว
    ไม้ยูคาลิปตัส ถือเป็นต้นไม้ที่นิยมนำมาทำไม้อัด mdf เพราะมีเยื่อไม้เยอะ เหมาะกับการทำไม้อัด mdf
    ไม้ยางพารา เป็นต้นไม้อีกชนิดที่นิยมนำมาทำไม้อัด mdf 
  • กาว ชนิดพิเศษที่ช่วยประสานให้เนื้อไม้ยึดเกาะกันเป็นแผ่น ทำให้เนื้อไม้แน่น เข้ากัน และทนทาน 
ไม้ยูคาลิปตัส

 

ไม้ยางพารา

 


กรรมวิธีการผลิต MDF (Medium Density FiberBoard)

1.วัสดุที่ใช้ในส่วนผสม ก็เอาไม้ยูคาลิปตัส, ไม้ยางพารา  ต้นสน (กว่า90% ของไม้ mdf เป็นไม้ยางพารา) เศษเยื่อไม้ที่เหลือจากการทำกระดาษ (ชนิดใดชนิดหนึ่งนำมาผลิต) และกากชานอ้อยที่ได้ จากโรงานทำน้ำตาลทรายแล้ว เป็นวัตถุดิบ
2.นำวัตถุดิบข้างต้นเข้าเครื่องบดให้เป็นผงละเอียด
3.ผสมกาวเฉพาะที่ใช้ที่ไม้อัดเข้าหม้อกวน จนได้ที่และผสมกับเนื้อไม้
4.นำเนื้อไม้อัดที่ผสมกาวเรียบร้อยแล้ว ผ่านท่อลำเรียงจากหม้อผสมมาโรยบนแท่นอัด
5.บดอัด และรีดด้วยความร้อนออกมาเป็นแผ่น นำมาอัดเป็นแผ่นโดยกรรมวิธีอัดด้วยความร้อน ( Dry Process) เพื่อให้เกิดการยึดเหนี่ยวระหว่างเส้นใยจนเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท Compositepanel ความหนาแน่น 400– 800 ก.ก./ ลบ.ม.
6.นำมาตัดให้ไซส์มาตรฐานคือ 4*8 ฟุต หรือ 48*96 นิ้ว หรือ 1.2*2.4 ตรม เป็นขนาดแผ่นมาตรฐานของไม้อัด

 

ไม้อัด MDF ในประเทศไทยนั้น มีการผลิตด้วยวัตถุดิบ 2 ชนิด คือไม้ยูคาลิปตัสและไม้ยางพารา  ไม้อัด MDF ที่ผลิตจากยูคาลิปตัส จะมีผิวหน้าไม้ที่เรียบเนียนเหมาะกับงานทำสีมากกว่าเนื่องจากเป็นไฟเบอร์ ประเภทเส้นใยสั้นและไม่มีเม็ดยางลอยบนผิวหน้าบอร์ด

 

ไม้อัด MDF ในประเทศไทยนั้น มีการผลิตด้วยวัตถุดิบ 2 ชนิด คือไม้ยูคาลิปตัสและไม้ยางพารา 

 

กระบวนการผลิตไม้อัด MDF

ไม้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไม้อัด MDF

ไม้เป็นวัตถุดิบของการผลิตไม้อัด mdf

 

กระบวนการลำเลียงไม้

ลำเลียงไม้ตามสายพานเข้าสู่กระบวนการผลิต

 

กระบวนการบดไม้เพื่อผลิตไม้อัด MDF

 

กระบวนการรีดฝุ่นไม้ที่ผสมกาวแล้ว เพื่อให้เป็นแผ่นไม้

 

การลำเลียงไม้ mdf ที่ผลิตเสร็จแล้วเพื่อให้คงรูป

 

กระบวนการเก็บไม้เข้าสู่คลังเก็บไม้เป็นตั้งๆ

 

 


คุณสมบัติของ ไม้ MDF (Medium Density FiberBoard)

คุณสมบัติของไม้อัด MDF

  • ผิวของไม้อัด mdf มีความเรียบเนียน สวย ทำสีหรือแปะผิวด้วย เมลามีน ,กระดาษ หรือแผ่นไม้วีเนียร์ได้
  • ไม้อัด mdf มีความคล้ายคลึงกับไม้ปาติเกิล (Particle Board) คือเอาเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามาบดอัด แต่เศษไม้จะเล็กมากเกือบเป็นฝุ่น
  • ไม้อัด MDFผ่านกระบวนการอัดไม้ด้วยเครื่องบดอัดไม้เฉพาะที่มีแรงอัดสูงมาก พร้อมกับความร้อน ด้วยเครื่องจักรเฉพาะทาง ความหนาแน่น จะอยู่ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) ขึ้นไป
  •  ไม้อัด MDF ผลิตด้วยกระบวนการผลิตที่มีความละเอียด ซับซ้อน จึงทำให้เนื้อไม้ มีความแน่น ละเอียด ผิวไม้เนียนมากกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล
  • ไม้อัด MDF ที่มีคุณภาพดีมากๆ อาจจะผลิตจากไม้ท่อน ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา มาบดอัดแทนเศษไม้ หรือไม้ รีไซเคิล เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีกว่า
  • เนื้อไม้อัด mdf เมื่อตัดออกมาแล้ว จะมีลักษณะเป็นฝุ่นไม้ อาจจะทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในขั้นตอนการเลื่อยไม้
  • มีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความหนา ความแน่น และความเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
  • ไม้อัด mdf สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียบ งานที่ออกมาจึงดูเรียบร้อยไม่เป็นขุย สามารถนำมาพ่นสีในเนื้อไม้ได้สวยงาม

และถ้าแบ่งตามลักษณะคุณสมบัติของเนื้อไม้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ

  1. ชนิดความหนาแน่นสูง โดยมากนิยมใช้ทำพื้นอาคาร, บ้านเรือน, นำไปปิดผิว พ่นสี ให้ดูดียิ่งขึ้น
  2. ชนิดความหนาแน่นปานกลาง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งงานแกะสลักได้เกือบทุกชนิด
  3. ชนิดความหนาแน่นต่ำ ปัจจุบันเริ่มมีใช้แพร่หลายทางยุโรป และอเมริกา นิยมใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ Knock-down

ขนาดของไม้อัด MDF

กว้าง*ยาว : 4*8 ฟุต หรือ 48*96 นิ้ว หรือ 1.2*2.4 ตรม เป็นขนาดแผ่นมาตรฐานของไม้อัด
ความหนา :
2.5 mm.
3 mm.
4 mm.
5.5 mm.
6 mm.
8 mm.
9 mm.
12 mm.
15 mm.
18 mm.
19 mm.
25 mm.

โดยขนาดมาตรฐานของ แผ่นไม้ MDF ที่ขายกันตามท้องตลาด อยู่ที่ 1.22 x 2.45 เมตร (หรือ 4 x 8 ฟุต) ต่อแผ่น สามารถบวกลบ (±) ได้นิดหน่อย เรื่องความหนาของแผ่นไม้ MDF ที่นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 3 มิลลิเมตร ถึง 25 มิลลิเมตร กันเลยทีเดียว ขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้ประกอบ หรือ รับน้ำหนักส่วนไหนของเฟอร์นิเจอร์ และในปัจจุบันนี้ไม้อัด MDF มีความหนาตั้งแต่ 2.6 มม.-25 มม. ขนาดใหญ่ที่สุดที่ความกว้างยาว 8×16 ฟุต หรือ 2.44×4.88 เมตร (2440×4880 mm.)

ขนาดของไม้อัด MDF

ความหนา (มิลลิเมตร) กว้าง*ยาว (เมตร) น้ำหนัก (กิโลกรัม)
2.5 1.2*2.4 5
3 1.2*2.4 6
4 1.2*2.4 9
5.5 1.2*2.4 10
6 1.2*2.4 12.8
8 1.2*2.4 20
9 1.2*2.4 24
12 1.2*2.4 26
15 1.2*2.4 35.8
18 1.2*2.4 36
19 1.2*2.4 36.9
25 1.2*2.4 52.5

โดยพื้นผิวด้านนอก ของ ไม้ MDF นั้นสามารถปิดผิว ได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น การปิดผิวด้วย กระดาษลายไม้ หรือลายอื่นๆ หรือจะ ปิดพื้นผิวด้านนอก ด้วยพีวีซี (PVC) หรือ เมลามีน ก็จะมีความแข็งแรงมากขึ้น รวมไปถึงการพ่นสีทับไปบนพื้นผิวด้านนอก ได้เช่นกัน

ตัวอย่างลายปิดหน้าไม้อัด MDF


การใช้ประโยชน์ของไม้ MDF (Medium Density FiberBoard)

  • งานเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง บานประตู ลิ้นชัก บานเปิดเฟอร์นิเจอร์
  • งานตกแต่งบิวด์อิน เฟอร์นิเจอร์บิวด์อิน

 

ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้อัด mdf


ราคาของไม้อัด mdf

ราคาเฉลี่ยของ ไม้ MDF (Medium Density FiberBoard)

ไม้ MDF ตามท้องตลาดปัจจุบันแล้ว มีสินค้าราคาเกรดสูง-ตำ่ ราคาเฉลี่ยของ ไม้ MDF จะอยู่ที่ราคาประมาณ 200 – 800 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับขนาดความหนา เเละความยาวของไม้ และบางทีก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อไม้ เป็นต้น )

ข้อดีของไม้อัด mdf
– ราคาถูกกว่าไม้จริง เพราะไม้จริงในปัจจุบันนั้นมีราคาแพงมาก
– ตัด เจาะ ตอกตะปู หรือ สว่าน ไขควงได้
– ให้ความรู้สึกคล้ายไม้จริง หากปิดผิวด้วยวัสดุเช่น ลามิเนต
– ใช้งานง่าย เพราะมาเป็นแผ่น ทำให้นำไปใช้งานง่าย
– ขนส่งง่าย เพราะเป็นแผ่นๆ

ข้อเสียของไม้อัด MDF
– ปัญหาการบวม พอง ปูด หากมีความชื้น เกิดขึ้นกับเนื้อไม้
– ปัญหาในขั้นตอนของการเลื่อยไม้อาจจะมีฝุ่น ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการเลื่อยไม้ mdf จึงต้องมีการป้องกัน เพราะไม้ mdf ผลิตจากฝุ่นไม้มาอัดเป็นแผ่นไม้

 


วิธีการดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ 

เฟอร์นิเจอร์ไม้จริงนั้นเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน หรือของประดับตกแต่งในบ้านที่มีราคาค่อนข้างแพง เพราะไม้จริงนั้นเป็นวัสดุที่ราคาแพง และยังหายากในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงชื่นชอบวัสดุตกแต่งบ้านที่ทำมาจากไม้ เช่นเฟอร์นิเจอร์ไม้และเครื่องเรือนต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม้เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติมากกว่าวัสดุทดแทนประเภทอื่นๆ นอกจากนั้นไม้ยังมีลวดลายที่สวยงามหลากหลาย เพียงแค่ใช้วัสดุเคลือบเงาลงบนผิวไม้ ไม่จำเป็นต้องทาสีก็ดูสวยงาม

ไม้อัด คือไม้สังเคราะห์ที่นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ในปัจจุบัน การดูและรักษาเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ ทั้งไม้จริงและไม้สังเคราะห์เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน สามารถทำได้ดังนี้

1. เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้หรือไม้อัด ต้องไม่วางใกล้แหล่งความร้อน เช่น ไฟ หรือในที่ที่มี อุณหภูมิสูง
2. ไม่วางบนพื้นที่เปียกชื้น และไม่ควรให้ถูกแสงแดด แสงจากโคมไฟหรือแสงสปอตไลท์โดยตรง เพราะไม้อาจจะกรอบได้
3. ควรระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนเนื้อไม้ และระวังไม่ให้มีน้ำหยดลงบนเนื้อไม้เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำลายความสวยงามของเนื้อไม้และลายไม้ ทำให้ผิวของไม้ซีดจางลง หากต้องใช้ในบริเวณที่น้ำหกบ่อยๆ เช่นครัว อาจจะต้องเคลือบเนื้อไม้เพื่อป้องกันการซึมของน้ำเข้าเนื้อไม้
4. ศัตรูที่สำคัญของไม้ คือ ปลวกและแมลงต่างๆที่กัดกินเนื้อไม้จึงต้องหมั่นตรวจ ดูแลเสมอเพื่อที่จะช่วยให้สามารถรักษา ความสวยงามตามธรรมชาติและให้ไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น หรืออาจจะทาสารเคมีบางอย่างที่ป้องกันปลวกหรือแมลงกัดกินเนื้อไม้


ตัวอย่างขั้นตอนการปิดผิวไม้ mdf

1.การปิดด้วยกระดาษความหนาต่างๆ ตั้งแต่ 30 , 40 , 60 , 70 แกรม ด้วยกาวลาเทกส์
2.การปิดผิวด้วย PVC และกาวปิดพลาสติก นำไปใช้งานเฟอร์นิเจอร์ บานหน้าต่าง โต๊ะ ช่วยให้กันน้ำได้
3.OPP เป็นการปิดผิวแบบกระดาษ หรือ PVC แต่จะบางกว่าใช้กาวประเภทเดียวกับ PVC
4.การปิดผิวแบบ Membrane เป็นการห่อหุ้มชิ้นงาน เข้าในซอกหรือร่องชิ้นงาน โดยการดูดอากาศออกจากกชิ้นงาน ใช้ใน งานเฟอร์นิเจอร์ และการตกแต่งภายใน ทำคิ้ว บัว
5.การปิดผิวด้วย Veneer ใช้เป็นส่วนประกอบ ประตู หน้าต่าง หรือ ตัวเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งดูภายนอกแล้วสวยงามเหมือนเป็นไม้จริง
6.การปิดผิวด้วย Melamine paper สามารถป้องกันน้ำได้ ป้องกันรอยขีดข่วน ผลิตภัณฑ์มีความทนทานต่อกรด
7.HPL ( High Pressure Laminate ) ที่นิยมเรียกกันว่าฟอร์เมกา ทำให้ผลิตภัณฑ์กันน้ำได้ ใช้ประกอบในการผลิตเครื่องครัวได้เป็นอย่างดี
8.การพ่นสีน้ำมัน ให้สีติดแน่นลบยาก ใช้ในการทำตกแต่งเฟอร์นิเจอร์การทำสีด้วยแลคเกอร์ ทำได้ทั้งสีโปร่ง และสีทึบ สามารถพ่นทับด้วย Polyurethane นิยมใช้กับเฟอร์นิเจอร์
9.ทาด้วยแลคเกอร์พ่นทับด้วย PU ( Polyurethane ) ถ้าไม้ยูคาจะทำให้สีเข้มขึ้นอีก
10. การทำสีด้วย Polyurethane ทำให้ได้ความมันวาว เพื่อตกแต่งภายในครัว และพวกตู้ติดตั้งถาวร (Build in) จะมีการทำสีที่หลายขั้นตอน และสุดท้ายพ่นด้วยอะคิลิกแลคเกอร์เคลือบหน้าเงา

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 8 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 8 มม.

ความหนา : 8 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 20 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา


เหมาะสำหรับใช้งาน
เฟอร์นิเจอร์

  • ทอปโต๊ะ
  • ข้างตู้ หลังตู้ ประตูตู้
  • ลิ้นชัก ชั้นวางของ
  • ตู้เสื้อผ้า

งานตกแต่ง บิวด์อิน

  • ชั้นวางของบิวด์อิน
  • ตู้เสื้อผ้า บิวด์อิน

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 15 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 15 มม.

ความหนา : 15 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 35.8 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา


เหมาะสำหรับใช้งาน
เฟอร์นิเจอร์

  • ทอปโต๊ะ
  • ข้างตู้ หลังตู้ ประตูตู้
  • ลิ้นชัก ชั้นวางของ
  • ตู้เสื้อผ้า

 

งานตกแต่ง บิวด์อิน

  • ชั้นวางของ บิวด์อิน
  • ตู้เสื้อผ้า บิวด์อิน

 

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 12 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 12 มม.

ความหนา : 12 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 26 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา


เหมาะสำหรับใช้งาน
เฟอร์นิเจอร์

  • ทอปโต๊ะ
  • ข้างตู้ หลังตู้ ประตูตู้
  • ลิ้นชัก ชั้นวางของ
  • ตู้เสื้อผ้า
  • งานตกแต่ง บิวด์อิน

ชั้นวางของ บิวด์อิน

  • ตู้เสื้อผ้า บิวด์อิน

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 6 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 6 มม.

ความหนา : 6 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 12.8 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา


เหมาะสำหรับใช้งาน

เฟอร์นิเจอร์

  • ทอปโต๊ะ
  • ข้างตู้ หลังตู้ ประตูตู้
  • ลิ้นชัก ชั้นวางของ
  • ตู้เสื้อผ้า

งานตกแต่ง บิวด์อิน

  • ชั้นวางของ บิวด์อิน
  • ตู้เสื้อผ้า บิวด์อิน

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดมีกี่แบบ(แบ่งตามชนิดเนื้อไม้)

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดมีกี่แบบ (แบ่งตามชนิดเนื้อไม้)

สวัสดีครับ หลายๆคนที่เคยใช้ไม้อัดสำหรับทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ ,งานโครงสร้าง ,งานบิวด์อิน หรืองานต่างๆ ที่ต้องใช้ไม้อัด คงมีความสงสัยกันว่า ไม้อัดนั้นมีกี่แบบ วันนี้เราจะมาดูกันว่าไม้อัดนั้นมีกี่แบบกันบ้าง โดยดูตามลักษณะของเนื้อไม้

ปัจจุบันการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เปลี่ยนไปอย่างมาก ในสมัยก่อนที่ป่าไม้ใความอุดมสมบูรณ์การใช้ไม้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ยังทำได้ แต่ในปัจจุบันไม้จริง ลดลงไปมาก จึงมาการผลิตไม้สังเคราห์เพื่อมาทดแทนไม้จริง ซึ่งผลิตจากเศษไม้ หรือขี้เลื่อยไม้จริงผสมกับวัสดุอื่นและกาวเพื่อให้ไม้ยึดเกาะกัน ไม้สังเคราะห์แบบใหม่ เรียกว่า ไม้อัด

ไม้อัดสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท จะเรียงลำดับไม้ที่มีคุณภาพต่ำไปยังคุณภาพสูง ดังนี้คือ

1. ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board)
ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board) เป็นไม้อัดชนิดหนึ่งที่นิยม นำมาทำเฟอร์นิเจอร์​เพราะ มีราคาถูก ประกอบและติดตั้งง่าย ซึ่งพบเห็นได้มากในปัจจุบัน

กรรมวิธีการผลิต
ไม้ปาติเกิล ผลิตโดยการนำเศษไม้ยางพารา ที่มีขนาดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือ “ขี้เลื่อย” ซึ่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน นำมาผ่านกรรมวิธีอัดบดเป็นแผ่น ผสมกาว เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ และผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ขนาดต่าง ๆ โดยความหนาที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์จะอยู่ที่ 9 – 25 มิลลิเมตรเท่านั้น โดยพื้นผิวภายนอกของไม้อัดปาติเดิล นั้นผู้ผลิตส่วนมากจะปิดทับด้วยกระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือแผ่นเมลามีน ก่อนนำไปใช้งาน ไม้ชนิดนี้เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ในอุตสาหกรรมในอันดับต้น ๆ เนื่องจากมีราคาต้นทุนที่ต่ำมาก

ไม้ปาติเกิลจะมีทั้งแบบธรรมดาและแบบกันชื้น ซึ่งจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ
ถ้าแบบธรรมดาไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด แต่ถ้าเป็นแบบกันชื้น ไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเขียว

ไม้ปาติเกิลแบบธรรมดาจะไม่ทนความชื้น หากโดนความชื้นมากๆหรือแช่น้ำ ไม้จะบวมพอง เหมาะสำหรับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านทั่วๆไป ที่ไม่มีความชื้น แต่ไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น จะมีความทนทานต่อความชื้นแต่ไม่ทนต่อการแช่ในน้ำ เหมาะสำหรับห้องครัวและห้องน้ำโซนแห้ง

ไม้อัดปาติเกิลนิยมนำไปทำ ตู้ ลิ้นชัก เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เพราะไม่ทนต่อความชื้น

ลักษณะเนื้อไม้อัดปาติเกิล

ลักษณะของเนื้อไม้อัดปาติเกิล 
* มีความเป็นโพรง เนื้อไม้ไม่แน่นมาก เพราะเป็นการนำเศษไม้ ขี้เลื่อย มาอัด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโพรงได้
* น้ำหนักเบา เพราะเนื้อไม้ไม่แน่น

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบธรรมดา
ข้อดี
– ราคาถูก เพราะเป็นไม้อัดคุณภาพกลางๆ นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้ 
– น้ำหนักเบา เพราะเนื้อไม้มีมีร่อง 
– หาซื้อง่าย มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านวัสดุก่อสร้างและร้านไม้ 

– เป็นที่นิยม เพราะราคาถูก
– ขนย้ายสะดวก มีขนาดที่เท่ากันทุกแผ่น ทำให้ขนย้ายง่าย

ข้อเสีย
– ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้
– ไม่สามารถพ่นสีทับได้
– เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น
– มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น
ข้อดี
– ราคาถูก
– น้ำหนักเบา
– หาซื้อง่าย
– เป็นที่นิยม
– ขนย้ายสะดวก
– ป้องกันเชื้อรา สามารถป้องกันเชื้อราได้ แต่ในที่สุดก็อาจจะมีราขึ้นได้

ข้อเสีย
– ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้
– ไม่สามารถพ่นสีทับได้
– มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

 


2. ไม้อัดเอ็มดีเอฟ (MDF: Medium-Density Fiber board)
ไม้ MDF ย่อมาจากคำว่า Medium-Density Fiberboard สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “แผ่นใยไม้อัด ความหนาแน่นปานกลาง” เป็นไม้อัดที่พบเห็นได้กับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

การผลิตไม้อัด MDF
ไม้อัด MDF ผลิตโดยไม้ชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับไม้ปาติเกิล คือเอาเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามาบดอัด หรือเศษฝุ่นไม้ มาผสมกาว แต่จะใช้เครื่องที่มีแรงอัดสูงมากพร้อมกับความร้อน ด้วยเครื่องจักรเฉพาะทางจึงทำให้เนื้อไม้มีความหนาแน่น ละเอียด และมีพื้นผิวด้านนอกที่เนียนมากกว่าไม้อัดปาติเกิลโดยความหนาที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ จะอยู่ที่ 3 – 25 มิลลิเมตร โดยพื้นผิวภายนอกนั้น สามารถปิดผิวได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปิดผิวด้วยกระดาษเมลามีน ลามิเนต รวมไปถึงการพ่นสีทับบนผิวด้านนอกได้อีกด้วย

ลักษณะเนื้อไม้อัด MDF

ลักษณะของเนื้อไม้
– มีความแน่น เป็นฝุ่นไม้
– เวลาตัดแผ่นไม้ จะมีฝุ่นเยอะ เพราะเป็นการอัดกาวกับฝุ่นไม้

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้อัด MDF
ข้อดี
– เนื้อหนาแน่น ผิวเรียบเนียนตลอดทั้งแผ่น สวยงาม
– หาซื้อได้ง่ายและเป็นที่นิยมในการทำเฟอร์นิเจอร์ มีขายตามร้านไม้ทั่วไป
– ขนย้ายสะดวก เพราะมีขนาดเท่าๆกัน
– มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก มีความแน่นของเนื้อไม้
– พ่นสีหรือทาสีบนเนื้อไม้ได้
– ทนน้ำได้ดีกว่าไม้อัดปาติเกิล
– ปิดผิวได้หลากหลายแบบ เช่น กระดาษเมลามีน การพ่นสีทับ

ข้อเสีย
– ราคาสูงกว่าไม้ปาติเกิล
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้ เพราะจะบวมน้ำ และอาจจะเกิดเห็ด รา ได้
– ฝุ่นเยอะขณะตัดไม้ เพราะลักษณะเนื้อไม้คือการนำฝุ่นไม้มาผสมกาว และอัดเป็นแผ่นไม้
– เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น ซึ่งหากน้ำซึมเข้าไปในเนื้อไม้ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นได้
– มีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาติเกิล เพราะความแน่นของเนื้อไม้มากกว่า

 


3. ไม้อัด (Plywood)
ไม้อัด ถือเป็นไม้ที่มีคุณภาพขึ้นมาอีกระดับในเรื่องของความทนทาน แข็งแรง และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่นกันน้ำ กันปลวก เป็นต้น มีความคล้ายไม้แผ่นมากที่สุด

กระบวนการผลิตไม้อัด
คือการนำไม้มาปอกเปลือกชั้นนอกที่ผิวไม่เรียบออกไป ต่อไปทำให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วอัดเป็นชั้นๆ ด้วยกาวพิเศษ จนแน่นจากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ในโรงงานผลิต และปิดผิวด้วยเยื่อบุไม้ ซึ่งไม้อัดทำมาจากไม้ชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น

– ไม้อัดยาง หรือไม้ยางพาราประสาน
– ไม้อัดสัก, ไม้อัดสักอิตาลี
– ไม้อัดแฟนซีหรือไม้อัดลวดลาย
– ไม้อัดแอชจีน, ไม้อัดแอชอเมริกา
– ไม้อัดบีช
ไม้อัดฟิล์มดำ

ทางผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายบางแห่ง จะเอาคุณสมบัติพิเศษมาให้เลือกใช้กัน อย่างความสามารถของการกันน้ำ กันปลวก หรือแมลงจำพวกกินเนื้อไม้ได้ ซึ่งทางผู้ผลิตจะใช้กาวชนิดพิเศษในการยึดเนื้อ มาผสมกับน้ำยากันปลวกเข้าไปในแต่ละชั้นของไม้ ส่วนด้านนอกอาจจะมีการทาน้ำยาเคลือบไว้ เพื่อป้องกันปลวก

นอกจากนี้ ไม้อัดยังสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood), ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood) และ ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood) เช่นไม้อัดฟิล์มดำ ส่วนขนาดความหนามาตรฐานของไม้อัด จะมีตั้งแต่ประมาณ 3 – 20 มิลลิเมตร

ลักษณะเนื้อไม้อัด

ลักษณะของเนื้อไม้อัด

-เนื้อไม้แน่น เป็นชั้นๆ สวยงาม 

-แข็งแรงทนทาน 

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้อัด
ข้อดี
– คล้ายไม้แผ่นมากที่สุด
– แข็งแรง ไม่บิดงอง่าย รับน้ำหนักได้ค่อนข้างมาก
– คงทน แข็งแรง
– โดนน้ำได้ แต่ไม่ควรแช่น้ำ
– กันปลวก เพราะมีการผสมสารเคมีกันปลวกในกาว

ข้อเสีย
– ราคาค่อนข้างสูง เพราะคล้ายเนื้อไม้ และให้สัมผัสใกล้เคียงกับไม้มากที่สุด
– มีน้ำหนักมาก เพราะเนื้อไม้มีความแน่น เวลาเลือกไม้อัดชนิดนี้ อาจจะต้องดูน้ำหนัก หากน้ำหนักมากมีแสดงว่าเนื้อไม้มีความแน่น

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 5.5 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 5.5 มม.

ความหนา : 5.5 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 10 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 4 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 4 มม.

ความหนา : 4 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 9 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 3 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัด MDF 3 มม.

ความหนา : 3 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 5-6 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : ฝุ่นหรือขี้เลื่อยไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา

ไม้อัด MDF,ไม้อัดเอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF,ไม้เอ็มดีเอฟ,ไม้ MDF BOARD,ไม้เอ็มดีเอฟ บอร์ด

 

แชร์ให้เพื่อน :