ไม้โครง,ไม้จ๊อยท์

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้โครง,ไม้จ๊อยท์

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ไม้โครง ซึ่งเป็นไม้อีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์เช่นเดี่ยวกับไม้อัด ซึ่งในการทำเฟอร์นิเจอร์ ต้องมีโครง ของเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งใช้ไม้ที่เรียกว่า ไม้โครง เป็นวัสดุในการทำนั่นเอง 

ไม้โครงคืออะไร 

ไม้โครง สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์หรืองานบิลด์อิน ไม้โครงก็คือไม้ที่นำมาใช้เป็นโครงสร้างหลัก ของแผ่นพื้น แผงตู้ หรือบานประตูตู้ ที่ต้องนำไม้อัดมาประกบจะ1ด้าน หรือ2ด้าน ก็ตาม ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์ เช่นตู้ ลิ้นชัก หรือเฟอร์นิเจอร์บิลด์อิน ทำให้เกิดเป็นโครงของเฟอร์นิเจอร์ ทำเกิดความแข็งแรง หรือเรียกง่ายๆว่าเป็น “กระดูก” ไม้โครงที่นิยมจะเป็นโครงไม้จริง บางทีก็มีบ้างที่ใช้ไม้อัด MDF ปาร์ติเกิล หรือพวกบล็อคบอร์ด มาทำเป็นตัวโครง เพื่อลดการบิดตัวและลดต้นทุน แต่ความแข็งแรงจะแข็งแรงสู้ไม้จริงไม่ได้ 

  • ไม้โครง ใช้เป็นโครงของตู้ ลิ้นชักหรือเฟอร์นิเจอร์บิวด์อิน 
  • ไม้โครงนิยมใช้เป็นไม้จริง เพราะแข็งแรงๆ 
  • ไม้โครงทำมาจากไม้จริงหลายชนิด เช่น ไม้โครงเบญจพรรณ,ไม้โครงสะเดา,ไม้โครงทุเรียน ,ไม้โครงยางพารา,ไม้โครงสัก,ไม้โครงสน (สนขาว)

หน้าที่หลักของไม้โครง : ใช้เป็นตัวโครงสร้างหลัก(ถ้าเปรียบกับการสร้างบ้านก็คืองานโครงสร้างพวก เสา คาน นั่นเอง) หรือเป็นการขึ้นตู้ ก่อนที่จะนำไม้อัดมาประกบ และเป็นตัวที่ใช้ในการนำไปจับยึด จากตะปูเกลียวหรือตะปูให้เกิดความแข็งแรง ของตู้หรือตัวเฟอร์นิเจอร์ หรือเฟอร์นิเจอร์บิวด์อินที่ต้องการ


ขนาดและประเภทของไม้โครง 

ไม้โครงเบญจพรรณ (หน้ากว้าง) ขนาด 17 x 42 x 2500 มม.

ไม้โครงเบญจพรรณ (หน้าแคบ) ขนาด 17 x 35 x 2500 มม.

ไม้โครงสะเดา (หน้ากว้าง) ขนาด 17 x 42 x 2500 มม.

ไม้โครงสะเดา (หน้าแคบ)  ขนาด 17 x 35 x 2500 มม.

ไม้โครงทุเรียน ขนาด 17 x 42 x 2500 มม.

ไม้โครงยางพารา ขนาด 17 x 42 x 2500 มม.

ไม้โครงสัก ขนาด 17 x 42 x 2500 มม.

ไม้โครงสนขาว ขนาด 17 x 42 x 2500 มม.


ไม้โครงขนาดที่นิยมใช้

แบบหน้าแคบ
หนา(มม.)* กว้าง(มม.) *ยาว(ม.)
17.5*35*2.4-2.5

ประกบไม้อัด 4 (3.2) มม.หน้า-หลัง จะรวมความหนาโดยประมาณที่ 22-23 มม. นิยมใช้เป็นโครงตัวในเพราะหน้าแคบ

 

แบบหน้าปกติ
หนา(มม.)* กว้าง(มม.) *ยาว(ม.)
17.5*42-45*2.4-2.5
นิยมใช้กันมากที่สุด ติดบานพับ,บานเปิด ปิด

 

หนา(มม.)* กว้าง(มม.) *ยาว(ม.)
20-22*42-45*2.4-2.5
ประกบไม้อัด4 (3.2)มม.หน้า-หลัง จะรวมความหนาโดยประมาณที่ 26-28มม. ขึ้นอยู่กับไม้อัดที่นำมาประกบ

*** ความยาวของไม้โครงนิยมให้เท่ากับขนาดความยาวของไม้อัดเพื่อให้ใช้งานได้สะดวก

*** ไม้โครงส่วนใหญ่จะมีขนาดมัดละ 10 ท่อน 

 


รูปแบบของไม้โครง

  • ไม้โครงแบบไม้ท่อนเดียว เส้นเดียวตรงๆ ไม่มีการต่อไม้ แต่ไม้จะมีราคาแพงมาก หายากมาก และไม้อาจจะบิดเบี้ยวนิยมใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ที่ราคาแพงมากๆ และใช้น้อย
  • ไม้โครงแบบต่อ(จ๊อยท์) ซึ่งนิยมกว่าและทำงานง่ายกว่า โอกาสที่ไม้จะบิดเบียวน้อยกว่า เพราะเป็นไม้ท่อนเส้นตรงๆ มาต่อกัน นอกจากนี่ยังเป็นการนำไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

ไม้โครงแบบต่อกัน หรือที่ต่อจ๊อยท์ มี 2 ลักษณะที่ใช้งานกันมาก ดังนี้ 

Fingger-Joint (แบบนิ้วประสาน)

แนวคัตเตอร์จะเห็นเป็นรอยฟันปลาอยู่ที่ด้านความกว้างไม้ ส่วนที่ด้านความหนา จะเห็นเป็นเส้นตรง


 

 

Butt-Joint

แนวคัตเตอร์จะเห็นเป็นรอยฟันปลาอยู่ที่ด้านความหนาไม้ ส่วนที่ด้านความกว้างจะเห็นเป็นเส้นตรง


ไม้โครงที่ทำจากไม้ประเภทต่างๆ

ไม้โครงสัก

หน้ากว้าง : หนา*กว้าง*ยาว : 17*42*2,500 มม. / 1.7*4.2*250 ซม.
มัดละ 10 ท่อน

ไม้โครงสักเป็นไม้โครงที่เป็นไม้ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงของไทย  นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์

ไม้โครงไม้สัก สักสวนป่า 

ข้อเด่น
ชื่อไม้สัก เป็นไม้ที่มีสกุลกว่า มีชื่อเสียง เนื้อไม้นิ่ม ทำงานง่าย ตรง ไม่บิดตัว

ข้อด้อย
หากนำไม้ที่มีอายุน้อยมาใช้งาน ไม้จะมีมีกระพี้ติดมาก(ที่เห็นสีขาวๆ) และยางไม้ไม่ค่อยมากพอที่จะป้องกันปลวกได้  

 

ไม้โครงไม้สัก สักเนื้อ
ข้อเด่น
ชื่อไม้สัก ไม้มีสกุลและชื่อเสียงอยู่แล้ว เนื้อนิ่ม ทำงานง่าย ตรงไม่บิดตัว ปลวกไม่กิน บางทีสามารถนำไปแทนกรอบบานได้

ข้อด้อย
ราคาแพง ไม้สักจะมีราคาแพงกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักก็มีราคาแพงกว่าเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุอื่นๆ


 

ไม้โครงทุเรียน

หนา*กว้าง*ยาว : 17*42*2,500 มม. / 1.7*4.2*250 ซม.
จำนวน : มัดละ 10 ท่อน

ข้อดี
ไม้โครงทุเรียนทำงานง่าย ตรง ไม่บิดตัว คงรูป เมื่อทิ้งไว้นาน

ข้อด้อย
เนื้ออ่อน เบา การยึดเกาะพวกเกลียวปล่อย ตะปู ไม่ดี ปลวกมอดชอบ ทำให้ไม่ป้องกันปลวกหรือมอด


ไม้โครงยางพารา

ไม้โครงยางพารา เป็นไม้โครงที่ทำจากไม้ยางพารา

ข้อดี
มีมาก หาซื้อง่าย แข็งเหนียว เนื้อไม้ขึ้นรูปง่าย ยึดเกลียว ยึดตะปูได้ดี เป็นที่นิยมใช้ทั่วไป 

ข้อด้อย
การบิดตัวง่าย มีขนพองขึ้นเป็นบางชิ้น  ไม่กันมอดและปลวก


ไม้โครงตะแบก

ไม้โครตะแบก ผลิตจากไม้ตะแบก มีคุณสมบัติดี ทำงานง่าย 

ข้อดี
ตรง ไม่บิดตัว แข็งเหนียว ลักษณะจะลื่นมัน ทำงานง่าย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องปลวก

ข้อด้อย
ราคาแพง อาจจะเทียบเท่ากับไม้สัก แต่ชื่อเสียงไม่เท่าไม้สัก 


ไม้โครงสยา
ข้อดี
ตรง ไม่บิดตัวง่าย เนื้ออ่อนแต่ไม่เปราะ ทำงานง่าย

ข้อด้อย
เนื้ออ่อน เบา การยึดเกาะเกลียวปล่อยไม่ดี (แต่มากกว่าทุเรียน) ปัจจุบันเริ่มมีน้อย


ไม้โครงตะเคียน
ข้อดี
เนื้อไม้แข็งเหนียว ไม่บิดงอง่าย การยึดเกาะเกลียวดี 

ข้อด้อย
อาจทำงานยากเพราะจะแข็ง แต่ดีกว่าพวกไม้รวม(เบญจพรรณ)


ไม้โครงเบญจพรรณ
ไม้เบญจพรรณ (ไม้รวม)

ข้อดี
ตรง ไม่บิดตัว รับแรงได้ดี หนักแน่น มั่นคง

ข้อด้อย
เนื้อแข็งแต่ไม่เหนียว ทำงานยาก ตอกตะปูยาก ไม้อาจจะเปราะแตก เมื่อตอกตะปู

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้โครงสะเดา สำหรับทำโซฟา

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้โครงสะเดา สำหรับทำโซฟา

ไม้โครงสะเดาตัวนี้ เป็นไม้โครงที่เหมาะสำหรับโรงงานทำโซฟา

เป็นไม้โครงไม่มีรอยต่อ แข็งแรง ทนทาน เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ 

สวัสดีครับ วันนี้ เราจะมาแนะนำไม้โครงอีกตัว ที่เหมาะมากๆ กับงานเฟอร์นิเจอร์ประเภทโซฟา นั่นก็คือ ไม้โครงสะเดา แบบไร้ร้อยต่อ กันครับ

ไม้โครงสะเดา รุ่นนี้จะผ่านการอบ ไส และไม่มีรอยต่อ ทำให้ไม้มีความแข็งแรง เหมาะกับนำไปใช้งาน

ไม้โครงสะเดา  ไม้จ๊อยท์ ไม่มีรอยต่อ
ขนาด : 21 มม. x43 มม. x2,000 มม.
ยาว : 2 เมตร

ข้อดี :

  • มีการอบ ไม่งอ หรืองอยากขึ้น การยืดหยุ่นหรือการงอ ก็จะน้อยลง
  • เป็นไม้โครงที่ไม่มีรอยต่อ
  • เหมาะกับโรงงานทำโซฟา,เฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นหลัก
  • ผ่านการอบ ไส การอบไม้โครงเพื่อให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น 

ไม้โครงสะเดา

แชร์ให้เพื่อน :