ไม้อัดปาติเกิล 9 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดปาติเกิล 9 มม.

ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด 9 มม.
ความหนา : 9 mm.
ความกว้างxยาว : 4×8 ฟุต (1.20×2.40 เมตร)
น้ำหนักไม้ : 20.5 kg./แผ่น (ประมาณ)
ไส้ไม้อัด : เศษไม้ยางพารา,ไม้ยาง ,ไม้เบญจพรรณ ,ไม้ยูคาลิปตัส,ไม้ยางแดง

ไม้ปาติเกิ้ล (Particle Board) คืออะไร และใช้งานอะไบ้าง

ไม้ปาติเกิ้ล คือไม้อัดประเภทหนึ่ง ผลิตมาจากการนำเศษไม้ยางพาราขนาดเล็กที่เป็นลักษณะของขี้เลื่อย หรือเศษไม้บด แต่ยังไม่ละเอียดจนเป็นผง ยังเป็นเศษไม้อยู่ ขนาดของเศษไม้แต่ละชิ้นใหญ่เล็กไม่เท่ากัน แล้วนำขี้เลื่อยเหล่านี้มาอัดบดเป็นแผ่น ผสมด้วยกาวชนิดพิเศษ และ ผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ออกมา
หลังจากนั้นก็นำแผ่นไม้ดังกล่าวมาปิดด้วยหน้าต่างๆเช่น หน้ากระดาษ หน้อฟอยล์ หรือเมลามีน เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

ลักษณะของสินค้า
* ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดชนิดเคลือบขาว (ผิวส้ม)
* ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดชนิดเคลือบเมลามีน ผิวด้าน ทั้ง 2ด้าน
* ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดชนิดเคลือบกระดาษพิมพ์ลายไม้ ลายอ่อน,ลายเข้ม
* ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดชนิดเคลือบกระดาษฟอยล์
* ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดชนิดเคลือบแผ่นเมลามีน

เป็นต้น

ปาติเกิลเคลือบขาวผิวส้ม

 

ปาติเกิลลายไม้

ข้อดีของไม้ปาติเกิ้ล

  • น้ำหนักเบา ขนส่งง่าย ยกง่าย เพราะมีน้ำหนักเบา
  • ขนย้ายง่าย ขนส่งง่าย เพราะมีน้ำหนักเบา สามารถขนส่งได้คราวละมากๆ
  • ราคาถูก เพราะผลิตจากเศษไม้ที่เหลือจากกระบวนการผลิตไม้แผ่น เฟอร์นิเจอร์ หรือไม้อัด
  • หาซื้อง่าย ไม้อัดปาติเกิลมีจำหน่ายทั่วไป ในท้องตลาด ตามร้านไม้หรือร้านขายวัสดุก่อสร้าง

ข้อเสียของไม้ปาติเกิ้ล

  • ไม่แข็งแรงมากนัก เนื่องจากผลิตจากเศษไม้ ถึงแม้จะอัดบดเป็นแผ่น แต่เรื่องความแข็งแรงก็ยังไม่เท่ากับไม้อัดยาง หรือไม้อัดที่ผลิตจากแผ่นไม้ เวลาหักหรือแตกก็หักออกเป็นส่วนเลย
  • ไม่กันน้ำ เพราะ มีส่วนผสมของไม้และกาว ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ไม่ทนน้ำ หรือ โดนน้ำและเปื่อยได้
  • ไม่สามารถพ่นสีตกแต่งลงบนไม้ปาติเกิ้ลได้
  • อาจเกิดการขึ้นรา ในเนื้อไม้ปาติเกิ้ลได้ หากมีความชื้นเยอะ และไม้ปาติเกิลไม่สามารถกันน้ำได้ เมื่อมีความชื้นจะบวม เป่ง และเสียคุณภาพของเนื้อไม้ไป

 

การใช้งานไม้อัดปาติเกิล

ไม้ปาติเกิลบอร์ดใช้งานได้หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ หรืองานบิวด์อิน งานตกแต่งบ้าน เป็นต้น

เฟอร์นิเจอร์

  • ทอปโต๊ะ
  • ข้างตู้ หลังตู้ ประตูตู้
  • ลิ้นชัก ชั้นวางของ
  • ตู้เสื้อผ้า

งานตกแต่ง บิวด์อิน

  • ชั้นวางของ บิวด์อิน
  • ตู้เสื้อผ้า บิวด์อิน
ตัวอย่างการใช้งานไม้อัดปาติเกิล

 

 

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดมีกี่แบบ(แบ่งตามชนิดเนื้อไม้)

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดมีกี่แบบ (แบ่งตามชนิดเนื้อไม้)

สวัสดีครับ หลายๆคนที่เคยใช้ไม้อัดสำหรับทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ ,งานโครงสร้าง ,งานบิวด์อิน หรืองานต่างๆ ที่ต้องใช้ไม้อัด คงมีความสงสัยกันว่า ไม้อัดนั้นมีกี่แบบ วันนี้เราจะมาดูกันว่าไม้อัดนั้นมีกี่แบบกันบ้าง โดยดูตามลักษณะของเนื้อไม้

ปัจจุบันการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เปลี่ยนไปอย่างมาก ในสมัยก่อนที่ป่าไม้ใความอุดมสมบูรณ์การใช้ไม้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ยังทำได้ แต่ในปัจจุบันไม้จริง ลดลงไปมาก จึงมาการผลิตไม้สังเคราห์เพื่อมาทดแทนไม้จริง ซึ่งผลิตจากเศษไม้ หรือขี้เลื่อยไม้จริงผสมกับวัสดุอื่นและกาวเพื่อให้ไม้ยึดเกาะกัน ไม้สังเคราะห์แบบใหม่ เรียกว่า ไม้อัด

ไม้อัดสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท จะเรียงลำดับไม้ที่มีคุณภาพต่ำไปยังคุณภาพสูง ดังนี้คือ

1. ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board)
ไม้อัดปาติเกิล (Particle Board) เป็นไม้อัดชนิดหนึ่งที่นิยม นำมาทำเฟอร์นิเจอร์​เพราะ มีราคาถูก ประกอบและติดตั้งง่าย ซึ่งพบเห็นได้มากในปัจจุบัน

กรรมวิธีการผลิต
ไม้ปาติเกิล ผลิตโดยการนำเศษไม้ยางพารา ที่มีขนาดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือ “ขี้เลื่อย” ซึ่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน นำมาผ่านกรรมวิธีอัดบดเป็นแผ่น ผสมกาว เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ และผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ขนาดต่าง ๆ โดยความหนาที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์จะอยู่ที่ 9 – 25 มิลลิเมตรเท่านั้น โดยพื้นผิวภายนอกของไม้อัดปาติเดิล นั้นผู้ผลิตส่วนมากจะปิดทับด้วยกระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือแผ่นเมลามีน ก่อนนำไปใช้งาน ไม้ชนิดนี้เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ในอุตสาหกรรมในอันดับต้น ๆ เนื่องจากมีราคาต้นทุนที่ต่ำมาก

ไม้ปาติเกิลจะมีทั้งแบบธรรมดาและแบบกันชื้น ซึ่งจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ
ถ้าแบบธรรมดาไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด แต่ถ้าเป็นแบบกันชื้น ไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเขียว

ไม้ปาติเกิลแบบธรรมดาจะไม่ทนความชื้น หากโดนความชื้นมากๆหรือแช่น้ำ ไม้จะบวมพอง เหมาะสำหรับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านทั่วๆไป ที่ไม่มีความชื้น แต่ไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น จะมีความทนทานต่อความชื้นแต่ไม่ทนต่อการแช่ในน้ำ เหมาะสำหรับห้องครัวและห้องน้ำโซนแห้ง

ไม้อัดปาติเกิลนิยมนำไปทำ ตู้ ลิ้นชัก เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เพราะไม่ทนต่อความชื้น

ลักษณะเนื้อไม้อัดปาติเกิล

ลักษณะของเนื้อไม้อัดปาติเกิล 
* มีความเป็นโพรง เนื้อไม้ไม่แน่นมาก เพราะเป็นการนำเศษไม้ ขี้เลื่อย มาอัด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโพรงได้
* น้ำหนักเบา เพราะเนื้อไม้ไม่แน่น

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบธรรมดา
ข้อดี
– ราคาถูก เพราะเป็นไม้อัดคุณภาพกลางๆ นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้ 
– น้ำหนักเบา เพราะเนื้อไม้มีมีร่อง 
– หาซื้อง่าย มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านวัสดุก่อสร้างและร้านไม้ 

– เป็นที่นิยม เพราะราคาถูก
– ขนย้ายสะดวก มีขนาดที่เท่ากันทุกแผ่น ทำให้ขนย้ายง่าย

ข้อเสีย
– ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้
– ไม่สามารถพ่นสีทับได้
– เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น
– มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น
ข้อดี
– ราคาถูก
– น้ำหนักเบา
– หาซื้อง่าย
– เป็นที่นิยม
– ขนย้ายสะดวก
– ป้องกันเชื้อรา สามารถป้องกันเชื้อราได้ แต่ในที่สุดก็อาจจะมีราขึ้นได้

ข้อเสีย
– ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้
– ไม่สามารถพ่นสีทับได้
– มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

 


2. ไม้อัดเอ็มดีเอฟ (MDF: Medium-Density Fiber board)
ไม้ MDF ย่อมาจากคำว่า Medium-Density Fiberboard สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “แผ่นใยไม้อัด ความหนาแน่นปานกลาง” เป็นไม้อัดที่พบเห็นได้กับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

การผลิตไม้อัด MDF
ไม้อัด MDF ผลิตโดยไม้ชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับไม้ปาติเกิล คือเอาเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามาบดอัด หรือเศษฝุ่นไม้ มาผสมกาว แต่จะใช้เครื่องที่มีแรงอัดสูงมากพร้อมกับความร้อน ด้วยเครื่องจักรเฉพาะทางจึงทำให้เนื้อไม้มีความหนาแน่น ละเอียด และมีพื้นผิวด้านนอกที่เนียนมากกว่าไม้อัดปาติเกิลโดยความหนาที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ จะอยู่ที่ 3 – 25 มิลลิเมตร โดยพื้นผิวภายนอกนั้น สามารถปิดผิวได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปิดผิวด้วยกระดาษเมลามีน ลามิเนต รวมไปถึงการพ่นสีทับบนผิวด้านนอกได้อีกด้วย

ลักษณะเนื้อไม้อัด MDF

ลักษณะของเนื้อไม้
– มีความแน่น เป็นฝุ่นไม้
– เวลาตัดแผ่นไม้ จะมีฝุ่นเยอะ เพราะเป็นการอัดกาวกับฝุ่นไม้

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้อัด MDF
ข้อดี
– เนื้อหนาแน่น ผิวเรียบเนียนตลอดทั้งแผ่น สวยงาม
– หาซื้อได้ง่ายและเป็นที่นิยมในการทำเฟอร์นิเจอร์ มีขายตามร้านไม้ทั่วไป
– ขนย้ายสะดวก เพราะมีขนาดเท่าๆกัน
– มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก มีความแน่นของเนื้อไม้
– พ่นสีหรือทาสีบนเนื้อไม้ได้
– ทนน้ำได้ดีกว่าไม้อัดปาติเกิล
– ปิดผิวได้หลากหลายแบบ เช่น กระดาษเมลามีน การพ่นสีทับ

ข้อเสีย
– ราคาสูงกว่าไม้ปาติเกิล
– ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้ เพราะจะบวมน้ำ และอาจจะเกิดเห็ด รา ได้
– ฝุ่นเยอะขณะตัดไม้ เพราะลักษณะเนื้อไม้คือการนำฝุ่นไม้มาผสมกาว และอัดเป็นแผ่นไม้
– เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น ซึ่งหากน้ำซึมเข้าไปในเนื้อไม้ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นได้
– มีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาติเกิล เพราะความแน่นของเนื้อไม้มากกว่า

 


3. ไม้อัด (Plywood)
ไม้อัด ถือเป็นไม้ที่มีคุณภาพขึ้นมาอีกระดับในเรื่องของความทนทาน แข็งแรง และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่นกันน้ำ กันปลวก เป็นต้น มีความคล้ายไม้แผ่นมากที่สุด

กระบวนการผลิตไม้อัด
คือการนำไม้มาปอกเปลือกชั้นนอกที่ผิวไม่เรียบออกไป ต่อไปทำให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วอัดเป็นชั้นๆ ด้วยกาวพิเศษ จนแน่นจากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ในโรงงานผลิต และปิดผิวด้วยเยื่อบุไม้ ซึ่งไม้อัดทำมาจากไม้ชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น

– ไม้อัดยาง หรือไม้ยางพาราประสาน
– ไม้อัดสัก, ไม้อัดสักอิตาลี
– ไม้อัดแฟนซีหรือไม้อัดลวดลาย
– ไม้อัดแอชจีน, ไม้อัดแอชอเมริกา
– ไม้อัดบีช
ไม้อัดฟิล์มดำ

ทางผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายบางแห่ง จะเอาคุณสมบัติพิเศษมาให้เลือกใช้กัน อย่างความสามารถของการกันน้ำ กันปลวก หรือแมลงจำพวกกินเนื้อไม้ได้ ซึ่งทางผู้ผลิตจะใช้กาวชนิดพิเศษในการยึดเนื้อ มาผสมกับน้ำยากันปลวกเข้าไปในแต่ละชั้นของไม้ ส่วนด้านนอกอาจจะมีการทาน้ำยาเคลือบไว้ เพื่อป้องกันปลวก

นอกจากนี้ ไม้อัดยังสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood), ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood) และ ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood) เช่นไม้อัดฟิล์มดำ ส่วนขนาดความหนามาตรฐานของไม้อัด จะมีตั้งแต่ประมาณ 3 – 20 มิลลิเมตร

ลักษณะเนื้อไม้อัด

ลักษณะของเนื้อไม้อัด

-เนื้อไม้แน่น เป็นชั้นๆ สวยงาม 

-แข็งแรงทนทาน 

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้อัด
ข้อดี
– คล้ายไม้แผ่นมากที่สุด
– แข็งแรง ไม่บิดงอง่าย รับน้ำหนักได้ค่อนข้างมาก
– คงทน แข็งแรง
– โดนน้ำได้ แต่ไม่ควรแช่น้ำ
– กันปลวก เพราะมีการผสมสารเคมีกันปลวกในกาว

ข้อเสีย
– ราคาค่อนข้างสูง เพราะคล้ายเนื้อไม้ และให้สัมผัสใกล้เคียงกับไม้มากที่สุด
– มีน้ำหนักมาก เพราะเนื้อไม้มีความแน่น เวลาเลือกไม้อัดชนิดนี้ อาจจะต้องดูน้ำหนัก หากน้ำหนักมากมีแสดงว่าเนื้อไม้มีความแน่น

 

แชร์ให้เพื่อน :