ไม้แบบหล่อคอนกรีต

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้แบบหล่อคอนกรีต

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับประโยชน์ของไม้อัดอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือการนำไปใช้ทำ แบบหล่อคอนกรีต นั่นเอง ไม้ที่นำมาใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต เรียกได้หลายๆชื่อดังนี้ เช่น ไม้อัดหล่อแบบ,ไม้แบบ,ไม้แบบหล่อคอนกรีต,ไม้อัดทำแบบ,ไม้แบบเทปูน, ไม้อัดดำหล่อแบบ  เป็นต้น ซึ่งการนำไม้มาทำแบบคอนกรีตก็มีประโยชน์หลายอย่างเช่น ขนส่งง่าย,ใช้งานง่าย ได้งานคอนกรีตที่เรียบ สวย ตรงตามความต้องการ และยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ดังนี้ ไม้ จึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำ แบบหล่อคอนกรีต นั่นเอง

ก่อนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจกับเรื่องของไม้แบบก่อนเป็นอันดับแรกว่า ไม้แบบคือ วัสดุขนิดไม้ที่นำมาประกอบยึดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นกล่อง เป็นร่อง เพื่อให้สามารถวางเหล็ก (เส้น) เสริมตามแบบลงไปก่อนที่จะเทคอนกรีต ซึ่งไม้แบบนี้สามารถขึ้นรูปได้จากวัสดุหลายชนิด ดั้งเดิมเก่าแก่สุดจะใช้ไม้กระดาน (ไม้เบญจพรรณ) ซึ่งมักมีความหนาที่ 1”- 11/2” หน้ากว้างตั้งแต่ 6,8,10” นำมาตีประกอบเข้ากันเป็นแผง ไม้แบบมักไม่มีการเข้ารางลิ้นระหว่างกัน จึงจะมีช่องว่างระหว่างแผ่นไม้ที่ประกบยึดติดกันด้วยไม้โครง (ไม้ขนาด11/2” x 3”) ซึ่งร่องเหล่านี้จะเป็นจุดที่น้ำปูนคอนกรีตสามารถไหลเล็ดรอดออกมาถ้าช่องว่างใหญ่เกินไป อีกจุดหนึ่งคือ ตรงที่ไม้แบบแนวตั้งมาบรรจบกับไม้แบบแนวนอน ซึ่งหากการตียึดจับด้วยโครงคร่าวไม่แข็งแรง รอยต่อ (ฉาก) จุดนี้ก็จะเป็นอีกจุดที่น้ำปูนไหลออกมาได้ (ทำให้เวลาถอดแบบแล้วเห็นเป็นอาการท้องคานเป็นโพรง) หรือตรงที่ไม้แบบหัวคานไปบรรจบกับเสา หรือแม้แต่ตรงปลายไม้แบบที่จะหล่อเสา หากไม่สัมผัสกับพื้นอย่างแนบสนิท เวลาถอดแบบออกมามักจะเห็นเป็นอาการโคนเสาคอนกรีตไม่เต็ม (ที่ติดกับพื้นมีอาการเป็นโพรงอากาศ เห็นหินหรือเหล็กเสริมภายใน)

การป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแต่ต้องใส่ใจ (ย้ำเตือน ผู้รับเหมาให้หาทางป้องกันอุดรอยรั่วตามจุดที่ได้กล่าวมาแล้ว) ตีโครงคร่าวไม้ยึดไม้แบบเข้ากันอย่างแน่นหนา ตามร่องรอยต่อระหว่างไม้แบบให้หาเศษวัสดุเช่นพวกกระดาษ ถุงก๊อปแก๊ป ดินน้ำมัน หรือแม้แต่ใช้ดินเหนียว ยา (จากด้านนอก) ตามร่องหรือรูให้แน่นหนา เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำปูนจากคอนกรีตที่เทลงในแบบไหลเล็ดรอดออกมาตามร่องหรือช่องรอยต่อตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งถ้าทำตามนี้ก็จะป้องกันได้ในระดับหนึ่ง ยิ่งถ้าให้ความสนใจสัดส่วนความข้นเหลวของคอนกรีต อีกทั้งมีการจี้เขย่าคอนกรีตให้เข้าแบบอย่างทั่วถึง (ใช้เหล็กกระทุ้งหรือใช้เครื่องจี้คอนกรีตตามกรรมวิธีกำหนด) ก็จะยิ่งทำให้ได้งานคอนกรีตเสาคานที่หล่อออกมาเต็มตามแบบสวยงามแข็งแรง

โดยไม้ที่นำมาทำแบบนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดง่ายๆ ดังนี้ 

การใช้ไม้จริงหล่อแบบคอนกรีต

1.ไม้จริง ไม้แผ่น 

ในยุคแรกๆที่มีการใช้งาน ไม้เพื่อทำแบบคอนกรีต ไม้จริงถูกนำมาเลื่อยเป็นแผ่นๆ กระดานยาวๆ เพื่อนำไปทำแบบหล่อคอนกรีตเช่นหล่อเสา หล่อคาน อย่างที่หลายๆท่านเคยเห็น เดิมทีใช้ ไม้กระดาน (เบญจพรรณ) ซึ่งมักมีความหนาที่ 1”- 11/2” หน้ากว้างตั้งแต่ 6,8,10” นำมาตีประกอบเข้ากันเป็นแผง ไม้แบบมักไม่มีการเข้ารางลิ้นระหว่างกัน จึงจะมีช่องว่างระหว่างแผ่นไม้ที่ประกบยึดติดกันด้วยไม้โครง (ไม้ขนาด11/2” x 3”) 

ข้อดีของการใช้ไม้จริง หรือไม้เบญจพรรณเพื่อทำแบบคอนกรีต 

  • เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ตามท้องถิ่น 
  • สามารถเลื่อยเองและประกอบเองได้ 
  • ใช้งานง่าย เพราะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก

ข้อเสียของการใช้ไม้จริง เพื่อทำแบบคอนกรีต

  • เวลาลอกแบบ คอนกรีตอาจจะไม่เรียบมากนัก เพราะไม้จริงอาจจะมีเสี้ยนไม้ ทำให้คอนกรีตเป็นรอยเสี้ยนไม้ได้
  • ไม้จริง มีราคาแพง อาจจะไม่เหมาะมาทำแบบคอนกรีต เหมาะกับงานอื่นมากกว่า 
  • ไม่กันน้ำ เพราะไม้อาจจะมีรอยแตก ให้น้ำสามารถซึมเข้าเนื้อไม้ได้ 

 


ไม้อัดยางหล่อแบบคอนกรีต

2.ไม้อัดยาง

ไม้อัดยาง เป็นไม้อัดที่นิยมนำมาใช้งานถัดจากไม้แผ่น เพราะหาได้ง่ายขึ้น และใช้งานง่าย 

ข้อดีของการใช้ไม้อัดยาง มาทำแบบคอนกรีต

  • หาง่าย มีขายทั่วไปตามร้านไม้
  • ราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับไม้จริง
  • ใช้งานง่าย มีความเรียบ ลอกไม้แล้วสวยงาม

ข้อเสียการใช้ไม้อัดยาง มาทำแบบคอนกรีต

  • ไม้อัดยาง ไม่กันน้ำ น้ำอาจจะเข้าสู่เนื้อไม้ได้ ทำให้ไม้เสียหายและแบบไม่ทน 
  • ไม้อัดยางอาจจะเหมาะกับงานอื่น เช่นงานเฟอร์นิเจอร์มากกว่า แต่ก็สามารถใช้งานได้


3.ไม้อัดฟิล์มดำ 

ไม้อัดฟิล์มดำถือว่าเป็นไม้ที่ผลิตขึ้นเพื่องานหล่อแบบคอนกรีตโดยเฉพาะ เพราะนำมาใช้ได้ เป็นอย่างดี และได้คอนกรีตที่สวยงาม ลอกแบบง่าย 

ข้อดีการใช้ไม้อัดฟิล์มดำ มาทำแบบคอนกรีต

  • กันน้ำ ถือเป็นคุณสมบัติเด่น ของไม้อัดฟิล์มดำ เพราะสามารถกันน้ำได้เนื่องจากมีฟิล์มเคลือบไม้ ป้องกันน้ำซึมเนื้อไม้
  • เป็นไม้อัดที่ผลิตเพื่องานหล่อแบบคอนกรีตโดยเฉพาะ
  • ลอกแบบง่าย ออกจากปูนได้ง่าย และได้แบบปูนที่สวยงาม ไม่มีเสียบ ปูนเรียบ สวย 
  • ใช้งานได้หลายรอบ เพราะเนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน และไม่มีน้ำซึมเข้า 
  • ราคาถูก เหมาะกับน้ำไปใช้งานหล่อแบบคอนกรีต

ข้อดีของการใช้ไม้อัดฟิล์มดำหล่อแบบ

5 ข้อดีของไม้อัดฟิล์มดำหล่อแบบ

ไม้อัดฟิล์มดำใช้หล่อแบบคอนกรีต

 

ไม้อัดฟิล์มดำใช้หล่อแบบคอนกรีต

 

แชร์ให้เพื่อน :