ไม้อัดจำเป็นต้องมี มอก. หรือไม่?
จำหน่ายไม้อัดยาง มอก. ราคาโรงงาน
สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับไม้อัด มอก. ว่าในงานแบบไหนที่ควรใช้ไม้ที่ มี มอก. มาลองดูกันครับ
- งานที่ใช้ไม้อัดเป็นส่วนประกอบของโครงสร้าง คือมีการยึด ติด ตรึง หรือผสมรวมในโครงสร้างเลย หรือใช้ไม้เพื่อรองรับโครงสร้าง รับน้ำหนัก เช่นเดียวกับเหล็ก ปูน แบบนี้มี มอก.ได้ เช่น งานเสา งานคาน อาจจะต้องใช้ไม้ที่มี มอก.
- งานที่เอาไม้อัดมาทำแค่แบบรองพื้น แบบเทปูน พอปูนแห้ง ก็แกะไม้อัดออก ไม่ได้อยู่ในเนื้อโครงสร้าง แบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้อัด ที่มี มอก. เพราะถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ แถมยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
- ส่วนงานราชการ ต้องการใช้วัสดุ ม้ที่มี มอก. ซึ่งไม้ที่มี มอก. เพราะเป็นกฏการจัดซื้อ ดังนั้นไม้อัด มอก. ส่วนมากก็ทำมาเพื่อรองรับงานราชการนั่นเอง
ส่วนใหญ่วัสดุที่ต้องที่ มอก. จะเป็นวัสดุที่ยึดติดกับโครงสร้าง ต้องรับน้ำหนัก เช่นเหล็ก
ไม้อัด มอก. หรือ ไม้อัดเต็มมิล คือไม้อัดยางที่ได้ผ่านกระบวนการผลิต และการทดสอบตามมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในเรื่องของคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความกว้าง (มม), ความยาว(มม), ความหนา(มม), ความชื้น, และการยึดติดของกาว ฯลฯ
ไม้อัดยาง มอก. นั้นแบ่งเป็น 4 ประเภทตามกาวที่ใช้ในการผลิต โดยมีประเภทต่างๆ ตามนี้
- ประเภทใช้ภายนอก ไม้อัดใช้ภายนอกใช้กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ น้ำเย็น น้ำเดือด ไอน้ำ และความร้อนแห้ง ได้ดี เหมาะสำหรับใช้ภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำ
- ประเภททนความชื้น ใช้กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ น้ำเย็น น้ำเดือด ไอน้ำ ในเวลาจำกัด เหมาะสำหรับ ใช้ภายในอาคารและภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำเป็นครั้งคราว
- ประเภทใช้ภายใน ไม้อัดที่ใช้ภายในใช้กาวที่ทนน้ำเย็นได้ดีพอสมควร ทนทานในน้ำร้อนได้ ในเวลาจำกัดไม่ทนในน้ำเดือด เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารหรือในที่ซึ่งไม่ถูกน้ำละอองน้ำ
- ประเภทชั่วคราว ใช้กาวที่ทนน้ำเย็นได้ในเวลาจำกัด เหมาะสำหรับใช้งานชั่วคราว
ปกติไม้อัด มอก. จะมีราคาแพงกว่าไม้อัดที่ไม่มี มอก. แล้วคุณภาพจะดีกว่า ซึ่งมีโรงงานไม่กี่แห่ง ที่ผลิตไม้อัดแบบ มอก. เพื่อเอาไว้ใช้งาน ดังนั้น ก่อนการเลือกใช้ไม้อัดครั้งต่อไปก็ต้องพิจารณาว่า งานหรือโครงการของเราเหมาะกับไม้อัด มอก. หรือไม่